บล็อกนี้จัดทำขึ้นในการเรียนการสอนรายวิชาอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



งานราตรีชมพูอมส้ม54 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

 

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากไม่ได้เสียชีวิตจากการลุกลามของโรค
ความสำคัญของอาหารต่อผู้ป่วยท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากไม่ได้เสียชีวิตจากการลุกลามของโรค แต่กลับเป็นเพราะการขาดอาหาร การศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าในระยะที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆรวมทั้งมะเร็ง ถ้าร่างกายได้อาหารที่เหมาะสม เพียงพอที่จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การผ่าตัด หรือการฉายรังสี ช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพได้เร็วและดียิ่งขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ช่วยให้คงสุขภาพนั้นไว้ ไม่ให้เสื่อมโทรมกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่า "อาหารที่ดีจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยมะเร็ง"

 ภาวะขาดอาหารกับผู้ป่วยมะเร็ง
ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มีภาวะขาดอาหาร ถ้าปล่อยให้ลุกลามไปเรื่อยๆ อาจผอมแห้งจนหนังหุ้มกระดูก อ่อนเพลียไม่มีแรง หมดความกระตือรือร้น อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จนมีผลเสียที่รุนแรงได้ การขาดอาหารพบได้ทั้งการขาดพลังงาน ขาดโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

 สาเหตุที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งขาดสารอาหาร
1. ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น เซลล์มะเร็งมีการสร้างสารเคมีบางอย่างทำให้มีการเผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปให้หมดโดยเร็วเพื่อใช้เป็นพลังงาน ถ้าได้อาหารไม่เพียงพอ จะมีการเผาผลาญอาหารจากอาหารส่วนที่สะสมไว้ในร่างกาย แล้วลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆได้
2. ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากรับประทานอาหารได้น้อย จึงยิ่งขาดอาหารง่ายขึ้น


อุปสรรคของการรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยลงจากปัญหาต่อไปนี้หรือไม่

1. เบื่ออาหาร มักจะรู้สึกชัดเจนในช่วงที่รักษาด้วยยาหรือการฉายรังสี เมื่อจบการรักษาอาการมักจะดีขึ้น ตำแหน่งของมะเร็งที่ต่างกัน และระยะต่างๆของโรคจะมีอาการมากน้อยต่างกัน
2. การรับรสผิดปกติทานอาจรู้สึกขมในปาก รับประทานอาหารหวานแล้วไม่ค่อยรู้สึกรสหวาน บางครั้งรสเปรี้ยวและเค็มก็รับรสได้ผิดไป เกิดจากความผิดปกติของเยื่อบุในปากและต่อมรับรสที่ลิ้นมักเกิดมากเพียงบางระยะของโรคหรือการรักษา
3. คลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย เกิดอาการในช่วงของการรักษาด้วยยาหรือแสง
4. อาการไม่สุขสบายอื่นๆ เช่นมีความเจ็บปวด แน่นท้องปวดท้อง ท้องผูก มักเป็นอาการที่เกิดเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจากมะเร็ง หรือเป็นผลข้างเคียงของการรักษา                                                                                   
5. การงดอาหารแสลง ถ้าท่านงดสิ่งที่มีโทษก็จะเป็นผลดี แต่ถ้างดอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็จะเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะจะยิ่งขาดอาหารมากยิ่งขึ้น
6. ขาดกำลังใจ ถ้าท่านรู้สึกเศร้า ท้อแท้ใจ หมดหวังจะยิ่งทำให้เบื่ออาหารและมีอาการไม่สุขสบายต่างๆมากขึ้น
ดังนั้นท่านจึงควรพยายามทำจิตใจให้เข้มแข็ง สงบและสดชื่นตามสมควร ทำความเข้าใจถึงความไม่สุขสบายต่างๆ ว่ามีโอกาสที่จะทุเลาลง ปรึกษาแพทย์และพยาบาลเพื่อหาทางบรรเทาอาการเหล่านั้นเท่าที่จะทำได้ แล้วมารับประทานอาหารตามคำแนะนำ ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่ท่านสามารถช่วยสนับสนุนให้การรักษามะเร็งได้ผลดีขึ้นด้วยตัวของท่านเอง

 ทำอย่างไรผู้ป่วยจึงจะรับประทานอาหารได้มากขึ้น
ถ้าท่านผอมลงและน้ำหนักลด ลองหาทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

* หลังอาหารทุกมื้อ ตามด้วยเครื่องดื่ม ผลไม้ หรือขนมหวาน
* เพิ่มจำนวนมื้ออาหาร จากที่เคยรับประทาน 2 - 3 มื้อ ให้เป็น 4 - 6 มื้อ
* เพิ่มอาหารว่างระหว่างมื้อ เป็นผลไม้เครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
* เลือกชนิดของอาหารที่ท่านชอบมารับประทาน
* ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอาหารหลายๆชนิด เพื่อที่จะได้ไม่เบื่อ และได้สารอาหารที่มีประโยชน์ครบ
* อาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม อาจช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น เช่น ไอศกรีม เยลลี่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ มะกะโรนี ไข่ลวก
* รับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ หรือของร้อนควรรับประทานเมื่อร้อน ของเย็นรับประทานเมื่อเย็น
* จัดบรรยากาศในการรับประทานให้รื่นรมย์เท่าที่สามารถทำได้
* พยายามทำจิตใจให้สดชื่น

 อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
1. อาหารทีมีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน ในแต่ละวัน  ควรได้รับประทานอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่คือ
* แป้งและน้ำตาล ได้แก่ ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน มะกะโรนี เป็นต้น เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
* ไขมัน ได้แก่ น้ำมันจากสัตว์และพืชต่างๆ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง ส่วนน้ำมันที่สกัดจากข้าวโพด ถั่วเหลือง รำข้าว จะให้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย
* เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นแหล่งของสารอาหารโปรตีนที่มีราคาถูกและมีคุณค่าสูงมาก
* ผักสดได้แก่ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ตำลึง คะน้า ผักกาด และผักอื่นๆ เช่นมะเขือเทศ ฟักทอง เป็นแหล่งของเกลือแร่
* ผลไม้ ทั้งผลไม้สด และน้ำผลไม้คั้น เช่น ส้ม มะละกอ กล้วย ฝรั่ง ให้วิตามินหลายชนิด
2. รับประทาน อาหารที่สะอาด ท่านมักจะมีความต้านทานต่อเชื้อโรคน้อยลง จึงควรเอาใจใส่เรื่องของความสะอาดให้ดีเช่น
* เนื้อสัตว์ ไข่ ต้องปรุงให้สุก
* ผักสดผลไม้ ล้างน้ำให้สะอาดหลายๆครั้ง
* การคั้นน้ำผลไม้ ควรล้างเปลือกผลไม้ก่อน อุปกรณ์ที่ใช้และมือผู้คั้นควรล้างให้สะอาด
* ถ้ามีความจำเป็นต้องเก็บอาหารไว้ ควรเก็บให้ถูกวิธี ป้องกันการบูดเน่าเสีย และอุ่นใหม่ก่อนรับประทาน ระวังแมลงวันและสัตว์อื่นๆไต่ตอมอาหาร
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์และอาจมีโทษ เช่น
* อาหารหมักดอง
* อาหารใส่สีฉูดฉาด
* อาหารเผ็ดจัด


4. อาหารเสริมที่ผลิตสำเร็จ หรืออาหารทางการแพทย์ ปัจจุบันมีการผลิตอาหารเป็นชนิดผงใช้ชงกับน้ำอุ่นดื่ม หรือเป็นชนิดน้ำดื่มได้เลยโดยมีการเติมสี กลิ่น เพื่อให้ดื่มง่ายขึ้น ควรเลือกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน และมีโปรตีนสูง ท่านสามารถ เลือกซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ตามกลิ่นรสที่ชอบและพิจารณาคุณค่าอาหารจากข้างกล่อง ร่วมกับขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือโภชนากร ตัวอย่างเช่น ไอโซคาล ซัสตาคาล ซัสตาเยน เอ็นชัวร์ เจน-ฟอร์มูล่า ส่วนใหญ่ราคาค่อนข้างแพงแต่ใช้ได้สะดวก และมีประโยชน์ดี
        ถ้าท่านไม่มีปัญหาเรื่องเบื่ออาหารน้ำหนักลด ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแต่ควรเลือกชนิดของอาหารที่มีคุณค่าสูง
http://www.gotoknow.org/blog/navee-019/233604
กินอย่างไรเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงวัย



ควรเป็นโปรตีนที่เคี้ยวและย่อยง่ายสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ปลา ไข่ เต้าหู้ ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และนม
ส่วนเนื้อสัตว์ใหญ่จะต้องตุ๋นให้เปื่อยหรือสับให้ละเอียดเพื่อให้เคี้ยวและกลืนง่าย
โดยผู้สูงอายุควรบริโภคเนื้อสัตว์ประมาณวันละ 150 กรัม


อาหารที่ให้พลังงาน
ควรเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วดำ
ถั่วแดงและธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโพด ลูกเดือย ซีเรียล เป็นต้น ควรบริโภคให้ได้วันละ 6 ทัพพี หรือประมาณ 3
ถ้วยตวง ซึ่งอาหารประเภทนี้นอกจากให้พลังงานแล้วยังมีกากใยสูงช่วยในการย่อยและป้องกันท้องผูกได้



น้ำหรือเครื่องดื่ม
ได้แก่ น้ำสะอาด ซุปและน้ำผลไม้ โดยควรบริโภคให้ได้วันละ 8-12 แก้ว
การดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้ไตขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้นและช่วยลดปัญหาท้องผูก


แคลเซียม
ในวัยสูงอายุจะมีความต้องการสูงขึ้น โดยปริมาณที่ต้องการในวัยนี้คือวันละ 1,200 มิลลิกรัม
โดยในนมทั่วไปขนาด 240 ซี.ซี. มีแคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่
นมหรือผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ตชนิดครีม เนยแข็ง ปลาเล็กปลาน้อยซึ่งรับประทานได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้งป่น
ผักใบเขียวต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วขาว ปูเค็ม งาและผงกะหรี่
และจากปริมาณที่ต้องการมากขึ้นและยากต่อการบริโภคให้เพียงพอจึงอาจรับประทานในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ซึ่งในการเสริมสร้างกระดูกแคลเซียมจะทำงานร่วมกับวิตามินดี
โดยวิตามินดีจะช่วยในการดูดซึมและสะสมแคลเซียมในกระดูก ซึ่งผิวหนังคนเราสร้างวิตามินดีได้จากแสงแดด
แต่เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุโดยเฉพาะวัย 70 ปี ประสิทธิภาพการสร้างวิตามินดีจากแสงแดดจะลดลง
จึงควรเสริมวิตามินดีประมาณ 400-600 ไอยู จากวิตามินรวม
โดยวิตามินดีในอาหารพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์และนมที่เสริมวิตามินดี


ธาตุเหล็กและวิตามินซีมีความจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือด
ในวัยสูงอายุจะพบปัญหาโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก ผู้สูงอายุจึงควรบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่
ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์และผักใบเขียว ร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซี
เพราะวิตามินซีจะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชได้ดีขึ้น


วิตามินเอ
ร่างกายจะสร้างจากเบต้าแคโรทีนซึ่งพบมากในผักใบเขียวจัด เหลืองจัดและส้มจัด
วิตามินเอจะช่วยการมองเห็นในที่มืด ปกป้องผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกาย
และไม่แนะนำให้บริโภควิตามินเอและธาตุเหล็กในรูปอาหารเสริมเพราะเสี่ยงต่อการสะสมและเป็นอันตรายได้


วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก
เป็นวิตามินที่จำเป็นอีกหนึ่งชนิดเพราะช่วยในการสร้างเม็ดเลือดร่วมกับ โฟเลทหรือกรดโฟลิก
อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ ปลา นมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งในวัยสูงอายุจะมีปัญหาในเรื่อง
การดูดซึมวิตามินบี 12 ทำให้โลหิตจาง จึงอาจรับประทานในรูปอาหารเสริม
ส่วนอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้แก่ ตับ ผักใบเขียวจัด ผลไม้ ถั่วต่างๆ ธัญพืช


สังกะสี
ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เพิ่มภูมิต้านทาน
อาหารที่มีสังกะสีสูง ได้แก่ อาหารทะเล ธัญพืชไม่ขัดสี นม


ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ได้แก่ ไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในไขมันสัตว์บก ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม น้ำมันมะพร้าว
กะทิ เพราะไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
ควรลดการรับประทานรสเค็มจัด เพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง การบวมน้ำและโรคไต

นอกจากการบริโภคให้ครบโภชนาการแล้ว การปฏิบัติตัวก็เป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่ซึ่งดิฉันก็มีข้อแนะนำคือ
ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ มื้ออาหารควรเป็นมื้อเล็กๆ แต่หลายมื้อมากขึ้น
เนื่องจากผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องการย่อยและดูดซึม อาหารควรเคี้ยวง่ายและสะดวกต่อการกลืน
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามกำลังที่ทำได้ อย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ผ่อนคลายความเครียด เพียงเท่านี้แม้จะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว
แต่ก็จะเป็นผู้สูงอายุที่ร่างกายแข็งแรงและจิตใจแจ่มใสอยู่เสมอค่ะ

โดย รศ. ดร. สุบัณฑิต นิ่มรัตน์

เอกสารอ้างอิง
ชุลีพร สวาสดิ์ญาติ (2542) อาหารสำหรับผู้สูงวัย. เครือโรงพยาบาลพญาไท.
นรภัทร ปีสิริกานต์ (2550)Elderly Health: สารอาหารเชิงป้องกันเพื่อผู้สูงวัย.
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=03-2009&date=24&group=17&gblog=46
การเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมในวัยสูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นด้านสรีรวิทยาหรือระบบต่างๆ ในร่างกายและด้านจิตใจที่มีประสิทธิภาพลดลง
โดยระบบต่างๆ ในร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพ การดูดซึมสารอาหารของระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าที่ควร
จึงทำให้ในวัยสูงอายุนั้นมีความเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหารสูง และจากการที่ร่างกายอ่อนแอลง ทำให้เสี่ยงต่อโรค
เรื้อรังที่มาพร้อมกับวัยอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
โรคมะเร็ง กระดูกพรุน ไขข้อและต้อกระจก ซึ่งความทรุดโทรมของสุขภาพและโรคทั้งหลายที่เอ่ยถึงเหล่านี้
เราสามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและใส่ใจดูแลรักษาร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งก็มีวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุและแนวทางการบริโภคมาแนะนำค่ะ

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ หากบริโภคได้ไม่เหมาะสมจะเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่าง
และเกิดการสะสมของเสียภายในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงและง่ายต่อการเกิดโรค
จึงควรให้ความสนใจในการบริโภคอาหาร สารอาหารที่มีความจำเป็นและต้องบริโภคให้เพียงพอ ได้แก่
โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม โฟเลทหรือกรดโฟลิก ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินต่างๆ ได้แก่ วิตามินดี วิตามินเอ
วิตามินบี 12 วิตามินซี และสิ่งสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้คือ น้ำ


อาหารกลุ่มที่ให้โปรตีน

ครอบฟันสี



ตามที่รกร้างว่างเปล่า ริมทาง เรามักพบเห็นต้นครอบฟันสีขึ้นอยู่ทั่วไป วันหนึ่งผู้เขียนได้ไปที่ร้านขายยาเห็นเขาตากครอบฟันสีไว้ จึงถามว่าจะเอาไปทำอะไร เขาบอกว่ามีคนมาสั่งเอาไปต้มกินแก้เบาหวาน หมอยาท่านหนึ่งแนะนำคนไข้ให้เอาครอบฟันสีมาต้มกินเพราะมีพิษร้อนภายในสูง คนไข้อีกคนหนึ่งมีอาการชัก หมอก็แนะนำให้กินน้ำต้มครอบฟันสี ผู้เขียนสงสัยว่าครอบฟันสีที่เป็นวัชพืชต้นนี้แก้อาการต่างๆข้างต้นได้จริงหรือ จึงได้ค้นคว้าดูพบว่าตามภูมิปัญญาโบราณระบุไว้ว่า
ต้น บำรุงโลหิตและขับลม
ใบ บ่มหนองให้แตกเร็ว
ดอก ฟอกล้างลำไส้ให้สะอาด
ราก แก้ลมและดี บำรุงธาตุ แก้มุตกิด แก้ไอ แก้ไข้ผอมเหลืองบำรุงกำลัง
สรรพคุณโดยรวมก็คือ ขับปัสสาวะ สมานเยื่ออ่อนตามทางเดินของปัสสาวะไม่ให้อักเสบ แก้โรคเบาหวาน แก้ปัสสาวะพิการ ขับตะกอนและไข่ขาวในกระเพาะปัสสาวะ
ฟิลิปปินส์ ใช้ใบต้มเอาน้ำชะล้างบาดแผลและแผลเรื้อรังต่างๆ และใช้สวนล้างช่องคลอด หรือทาภายนอก
อินเดีย ใช้ยาชงจากราก แก้ขัดเบา เบาเป็นเลือด เปลือกและรากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ดี ดอกและใบ ใช้พอกฝีและแผลเรื้อรังต่างๆ
อินโดจีน ใช้ดอกอ่อนและเมล็ด ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและเป็นยาบำรุง
จากภูมิปัญญาเหล่านี้จะพบว่าครอบฟันสีมีสรรพคุณขับปัสสาวะเป็นหลัก พร้อมทั้งแก้ลมและดีด้วย ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานเมื่อกินครอบฟันสีแล้วจะขับปัสสาวะออกมา ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง พร้อมทั้งบำรุงน้ำดีให้บริบูรณ์ด้วย จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยขับพิษร้อนในร่างกายออกไป และทำให้ลมเดินเป็นปกติ ทำให้แก้เบาหวานได้ คนไข้หายจากพิษร้อนภายใน สำหรับคนไข้ที่ชักจากดีเป็นเหตุ เมื่อดีและลมเป็นปกติก็จะหายชักไปเอง เหล่านี้เป็นแนวคิดตามเภสัชแผนโบราณ
ส่วนเภสัชแผนปัจจุบันก็ได้มีการเก็บรวบรวมและวิจัยเกี่ยวกับครอบฟันสีไว้พอสมควรดังนี้
ครอบฟันสีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abutilon indicum(L.) Sweet วงศ์ Malvaceae มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Country Mallow, Moon Flower เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งสาขามาก มีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุมทั่วไปทั้งต้น ก้านใบยาว รูปใบคล้ายหัวใจ ขอบใบมีรอยหยักรูปฟัน มีดอกสีเหลือง ผลเป็นกลีบๆเรียงติดกันคล้ายฟันเฟืองสีข้าวมีขนสั้นๆปกคลุม เมล็ดคล้ายรูปไต มักขึ้นตามที่รกร้าง ริมถนนหนทาง
สารเคมีที่พบ ทั้งต้นมี Flavonoides(เช่น Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside) ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, Magnesium phosphate และCalcium carbonate ราก มี Asparagin เมล็ด มีไขมันประมาณ 5%, Fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3%, Linoleic acid 26.67%, Linolenic acid 6.8%, Stearic acid 11.17%, Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sterol)
ยังไม่พบรายงานที่นำไปใช้ในการแพทย์แผนปัจจุบัน

มังคุดสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้


ใครที่ชอบทานมังคุด ทราบหรือไม่ว่า มังคุดก็สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้
นักวิทยศาสตร์ ได้ศึกษาสารสกัดจากเปลือกมังคุด
พบฤทธิ์จู่โจมเฉพาะเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยไม่สร้างความเสียหายให้เซลล์ดีที่อยู่รายรอบ

ผลการทดลอง
สารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถจัดการกับเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี
แม้จะใช้เพียงเล็กน้อยเพียง 4 มิลลิกรัมก็ตาม 
สารสกัดจากเปลือกมังคุดที่นำมาใช้ในการศึกษานี้ ได้รับการสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
และมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยการทดสอบพบว่า

สารสกัดในปริมาณ 4 มิลลิกรัม ดังกล่าว
สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้กว่า 50% ของเซลล์มะเร็งทั้งหมด
และจากการขยายผลนำสารสกัดไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งอื่น
ก็พบว่าสามารถออกฤทธิ์ดีในการทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้และเซลล์มะเร็งตับ

รู้อย่างนี้แล้ว ก็ลองหันมาทานมังคุดกันดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดี

หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา)


หญ้าปักกิ่ง หรือ หญ้าเทวดา
       มีข้อถกเถียงกันมานานเรื่องการใช้ หญ้าปักกิ่ง แต่ผลการวิจัยได้พิสูจน์ว่าหญ้าปักกิ่ง มีคุณสมบัติยับยั้งโรคมะเร็งได้จริง แต่ต้องรับประทานอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระมัดระวังให้มาก หลังจากที่ หญ้าปักกิ่งแพร่หลายในบ้านเรา คือเรื่อง หญ้าปักกิ่งปลอม ซึ่งต้องสังเกตให้ดี อย่าหลงเชื่อผู้ขาย และต้องปรึกษาผู้รู้เท่านั้น
      
       หญ้าปักกิ่ง หรือในชื่อภาษาจีนว่า เล้งจือเช่า หรือหญ้าเทวดา เป็นยามีรสจืด เย็น มีสรรพคุณในการยับยั้งโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในคอ มะเร็งตับ มะเร็งมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว การตรวจวิเคราะห์ในห้องแล็บพบว่า ลำต้นหญ้าปักกิ่งมีสารกลุ่มกลัยโคสพิงโกไลบิตส์ เป็นสารต้านมะเร็งระยะต้น ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เช่น โรคมะเร็ง เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคภูมิแพ้ โรคความดันและเบาหวาน สามารถใช้รักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้ ช่วยลดอาการข้างเคียงจาการฉายแสง ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฉายแสง
      
       “ชาวจีนสมัยโบราณใช้หญ้าปักกิ่งเป็นยารักษาโรคมานับพันปีแล้ว รักษาสารพัดโรคครอบจักรวาล เช่น บำรุงพลังปราณ ปรับสมดุลร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาปลูกเป็นยาจีน รักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และทำน้ำคั้นดื่มรักษาโรคมาเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยทำวิจัยคุณสมบัติหญ้าปักกิ่ง พบว่า ไม่มีพิษสะสมต่ออวัยวะอื่น และได้สรรพคุณทางเคมีเภสัชว่า สามารถทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรงระยะอ่อน-ปานกลาง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และลำไส้ใหญ่ ซึ่งสารที่แสดงฤทธิ์ คือกลุ่มกลัยโคสพิงโกไลบิตส์”
      
       ถิ่นกำเนิดของหญ้าปักกิ่ง
       หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏพืชชนิดสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอและมะเร็ง มีลักษณะคล้ายกับหญ้ามาเลเซียที่นำมาปูพื้นสนาม แต่หญ้าปักกิ่งจะอวบน้ำกว่า ใบนุ่ม หลังใบมีขนอ่อนๆ โคนต้นทรงกระบอก สีออกขาว ดอกออกเป็นช่อที่ยอดรวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้าหรือสีม่วงอ่อน มีสรรพคุณเสริมภูมิต้านทาน ช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น
      
       การแปรรูปหญ้าปักกิ่ง


       เก็บเอาหญ้าปักกิ่งทั้งต้นทั้งราก คัดเอาใบที่สมบูรณ์และใบซีดเหลืองออกก่อน ล้างเศษดินที่ติดมากับรากให้สะอาดนำไปล้างน้ำอีก 2 ครั้ง ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ นำหญ้าปักกิ่งมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆขนาด ครึ่งเซนติเมตร นำไปตากแดดประมาณ 5-7 วัน เวลาตากควรเกลี่ยให้ทั่วและเกลี่ยบ่อยๆ เมื่อแห้งสนิมแล้วนำมาบรรจุภาชนะให้มิดชิด สามารถนำไปทำเป็นลูกกลอน ยาอัดเม็ด แคปซูล ชา และเครื่องดื่มชนิดผง
      
       “ส่วนมากจะทำเป็นน้ำหญ้าปักกิ่ง มีส่วนผสมคือ หญ้าปักกิ่ง น้ำเชื่อม น้ำสะอาด วิธีการคือ นำหญ้าปักกิ่งที่สดใหม่ ล้างน้ำให้สะอาด แช่ด่างทับทิม 15-20 นาที แล้วหั่นตามขวางละเอียด ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาว เติมน้ำเชื่อมพอหวาน ชิมรสตามชอบจะได้น้ำหญ้าปักกิ่งสีเขียวหวานใส”


      
       ประวัติการรักษาโรคมะเร็งในประเทศนั้น
       ประมาณปี 2527 มีผู้ป่วยโรคมะเร็งดื่มน้ำคั้นสดจากหญ้าเทวดาเพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง สามารถยืดชีวิตต่อไปได้ในระยะหนึ่ง ทำให้หญ้าเทวดาเป็นที่สนใจมาก นอกจากนั้นมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายหนึ่ง แพทย์บอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีก 3 เดือน ขอให้นำไปพักรักษาที่บ้าน แต่ผู้ป่วยได้ดื่มน้ำหญ้าปักกิ่งคั้นสด 1 ปีต่อมายังไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ผลของผู้ป่วยรายนี้กระตุ้นให้มีการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของหญ้าเทวดา นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยบางรายที่ใช้หญ้าปักกิ่งรักษาอาการร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
      
       “ในการวิจัยที่เคยมีการทำกันมามีรายงานว่า สารสกัดหญ้าเทวดา มีผลลดความรุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนู จึงคาดว่า สารสกัดหญ้าเทวดาอาจใช้ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้”
      
       ข้อควรระมัดระวังในการใช้หญ้าเทวดา
       หญ้าเทวดาที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยต้องเป็นต้นที่มีอายุเหมาะสม กล่าวคือ หากเป็นหญ้าที่มีการปลูกโดยการชำกิ่งต้องมีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป แต่ถ้าเป็นหญ้าที่ปลูกจากการเพาะเมล็ด ต้องมีอายุมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป
       หญ้าเทวดาที่มีอายุยังไม่ครบ ได้มีการศึกษาแล้วพบว่า สารกลุ่มกลัยโคสพิงโกไลบิตส์ ไม่มีการสร้างในต้นที่มีอายุยังไม่ครบ ดังนั้นการซื้อหญ้าเทวดามาบริโภคต้องมั่นใจว่าต้นนั้นๆมีอายุครบตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะได้คุณประโยชน์ที่พึงประสงค์
      
       “ในด้านการพัฒนาสู่มาตรฐานสากลในประเทศไทยนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาขององค์การเภสัชกรรม ได้นำหญ้าเทวดามาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยใช้ส่วนประกอบทุกอย่างเป็นสารธรรมชาติ แม้กระทั่งสีที่ใช้เคลือบยาเม็ดก็ได้จากสีเขียวของคลอโรฟีลล์จากพืช วัตถุดิบและการผลิตทั้งหมดเป็นภูมิปัญญาของคนไทยล้วนๆไม่พึ่งต่างชาติ แต่การประกันคุณภาพจะเทียบเท่ามาตรฐานสากล”
      
       การพัฒนาหญ้าเทวดาในรูปของยาเม็ด นอกจากเป็นรูปแบบของยาที่รับประทานง่ายแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับคุณค่าของยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะยาเม็ดหญ้าเทวดาทุกเม็ดได้ผ่านกระบวนการผลิตและการควบคุมที่ทันสมัย เพื่อประกันคุณภาพของยาเม็ดหญ้าเทวดาทุก 2 เม็ดมีคุณค่าเทียบเท่ากับหญ้าเทวดาสดจำนวน 3 ต้น
      
       “การใช้ยานี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรรับประทานยานี้เป็นรอบ โดยรับประทาน 7 วันแล้วหยุด 4 วัน สลับกันไปแล้วเริ่มรับประทานรอบใหม่ ระยะเวลาการรับประทานขึ้นกับจุดประสงค์การใช้ยาดังนี้ กรณีใช้ลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็งรับประทานควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน โดยรับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน การหยุดรับประทานเป็นช่วงๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน”
             ส่วนกรณีป้องกันการแพร่กระจายและการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังจากได้รับการรักษาแล้ว โดยป้องกันการแพร่กระจายและกลับเป็นซ้ำอีก ให้รับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน เช่นนี้ติดต่อกัน 1 ปี และตรวจมะเร็งปีละ 2 ครั้ง ส่วนกรณีการใช้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ในผู้ที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง รับประทาน 7 วัน หยุด 4 วัน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 6-8 สัปดาห์ โดยใช้เฉพาะช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อไวรัสเป็นต้น

http://thaiherbclinic.com/node/332

เรื่องของกล้วยยยยย


กล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิดคือ ซุคโคส ฟรุคโตสและกลูโคส (sucrose, fructose and glucose) รวมทั้งเส้นใยอาหาร ซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกายที่พร้อมนำไปใช้ได้ทันที
มีผลงานวิจัยว่า กล้วยหอม 2 ลูกให้พลังงานเพียงพอให้เราทำงานได้ถึง 90 นาที

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมนักกีฬาระดับโลกถึงชอบกินกล้วยหอมกันนัก
(เคยเห็นในสนามเทนนิส พอพักเบรคบางคนหยิบกล้วยหอมมากัดกินสัก 2-3 คำ)

นอกจากนี้ กล้วยหอมยังมีคุณอนันต์ ในการป้องกันโรคภัยและภาวะต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วยเช่น:

- ภาวะซึมเศร้า จากการสำรวจและวิจัยไต่ถามพร้อมสุ่มตัวอย่างจากคนไข้ ที่ป่วยเป็นโรคซีมเศร้า หรือในรายสุภาพสตรีก่อนมีประจำเดือน จะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ไม่อยู่กับร่องรอย ก่อให้เกิดภาวะผิดปกติต่อร่างกาย..เช่นปวดท้อง ปวดหัว...ฯลฯ
 พบว่าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้รับประทานกล้วยหอม เพราะในกล้วยหอมมีสารทริปโทแฟน ( tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายสามารถแปลงเป็น serotonin ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย มีอารมณ์สดใสและมีความสุขมากยิ่งขึ้น

- โรคโลหิตจาง ธาตุเหล็กในกล้วยหอมสามารถที่จะกระตุ้นร่างกายให้ผลิต Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) ในกระแสโลหิต ช่วยหยุดยั้งภาวะโลหิตจางได้

- ความดันโลหิต กล้วยหอมมีเกลือโปแตสเซียมเหลืองอยู่เยอะ เป็นตัวช่วย
ความดันเลือดจนกระทั่ง US Food and Drug Administration อนุมัติให้กล้วยหอมยอดผลไม้มีส่วนช่วยลดภาวะความเสี่ยงความดันได้จริง เสริมสร้างพลังสมอง (Brain Power)

ผลงานวิจัยพบว่าโปแตสเซียมในกล้วยช่วยนักเรียนให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
ที่อังกฤษในแคว้น Middlesex มีนักเรียนจำนวน 200 คนจาก Twickenham school อ้างว่าพวกเขาสอบผ่านเพราะได้กินกล้วยหอมเป็นอาหารเช้า รวมทั้งกินอีกนิดหน่อยในตอนมื้อเที่ยงเพื่อทำให้สมอง
สดชื่น

- อาการท้องผูก เส้นใยอาหารในกล้วยหอมช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกาย ทำงานได้ดี

- อาการเมาค้าง  วิธีแก้เมาค้างที่เร็วและดีอีกวิธีหนึ่งก็คือกินกล้วยหอมปั่นbanana milkshake โดยการใส่น้ำผึ้งลงไปด้วย จะช่วยให้ ปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงาน

- จุกเสียดแน่นท้อง (Heartburn) กล้วยหอมมีสารลดกรดตามธรรมชาติอยู่ ดังนั้นการกินกล้วยก็จะช่วยให้ลดอาการดังกล่าว
ในส่วนของท่านผู้สูงอายุ การรับประทานกล้วยหอมเวลาท้องว่างจะทำให้ลมกำเริบได้ จึงควรรับประทานช่วงมื้อกลางวัน จะทำให้การย่อยทำงานได้ดีไม่มีอาการท้องอืด

- Morning Sickness อาการหงุดหงิดงี่เง่า ไม่สดชื่นในตอนเช้าเช่นไม่อยากจะตื่นบ้าง...ฯลฯ กล้วยหอมสักคำ 2 คำระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดและแก้อาการดังกล่าว ในตอนเช้าได้

- บรรเทาแผลยุงกัด โดยใช้เปลือกกล้วยหอมด้านในถูบริเวณที่ถูกยุงกัด จะช่วยลดอาการคันหรือบวมได้

- ระบบเส้นประสาท  วิตามินบีที่มีอยู่มากในกล้วยหอมจะช่วยลดความเครียดอ่อนล้าได้

- อ้วนจากทำงานมากเกินไป สถาบันจิตวิทยาในออสเตรียได้ศึกษาและพบว่า ความเครียดจากที่ทำงานทำให้คนกินช็อกโกแล็ตและพวกโปเต้โต้ชิปส์มากเกินไป ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น คังนั้นถ้ากินกล้วยหอมสักเล็กๆ น้อยๆ ประมาณทุกๆ 2 ชม.จะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดและลดการ
อยากกินของจุกจิก

- แผลในลำไส้และกระเพาะอาหารรวมทั้งผิวหนังพุพองเป็นแผล  สารและเส้นใยในกล้วยหอมช่วยให้การย่อยอาหารของลำไส้เล็กดีขึ้น รวมทั้งกรดต่าง ๆที่มีอยู่ทำให้มีการเคลือบผิวของกระเพาะ ลดการเป็นแผลในกระเพาะได้

- ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกาย (Temperature Control)  ในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อน ผู้คนชอบกินกล้วยหอมดับร้อนกันครับและเชื่อว่ามันเป็นผลไม้เย็นฉ่ำชนิดหนึ่ง

- ลดความอยากสูบบุหรี่  สำหรับท่านที่ต้องการเลิกบุหรี่ กล้วยหอมอาจช่วยท่านได้เพราะมีวิตามิน B6, B12 โปแตสเซียมและแม็กนีเซียม ที่มีอยู่มากจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสารนิโคติน

จะเห็นได้ว่า กล้วยหอมนั้นเป็นยอดผลไม้จริงๆ เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลแล้ว กล้วยหอมมีโปรตีน มากกว่าถึง 4 เท่า มีคาร์โบไฮเดรทมากกว่าถึง 2 เท่า ฟอสฟอรัส มากกว่าถึง 3 เท่า วิตามินเอ และธาตุเหล็กมากกว่าถึง 5 เท่า วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ มากกว่าถึง 2 เท่า
http://thaiherbclinic.com/node/368