บล็อกนี้จัดทำขึ้นในการเรียนการสอนรายวิชาอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



งานราตรีชมพูอมส้ม54 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ครอบฟันสี



ตามที่รกร้างว่างเปล่า ริมทาง เรามักพบเห็นต้นครอบฟันสีขึ้นอยู่ทั่วไป วันหนึ่งผู้เขียนได้ไปที่ร้านขายยาเห็นเขาตากครอบฟันสีไว้ จึงถามว่าจะเอาไปทำอะไร เขาบอกว่ามีคนมาสั่งเอาไปต้มกินแก้เบาหวาน หมอยาท่านหนึ่งแนะนำคนไข้ให้เอาครอบฟันสีมาต้มกินเพราะมีพิษร้อนภายในสูง คนไข้อีกคนหนึ่งมีอาการชัก หมอก็แนะนำให้กินน้ำต้มครอบฟันสี ผู้เขียนสงสัยว่าครอบฟันสีที่เป็นวัชพืชต้นนี้แก้อาการต่างๆข้างต้นได้จริงหรือ จึงได้ค้นคว้าดูพบว่าตามภูมิปัญญาโบราณระบุไว้ว่า
ต้น บำรุงโลหิตและขับลม
ใบ บ่มหนองให้แตกเร็ว
ดอก ฟอกล้างลำไส้ให้สะอาด
ราก แก้ลมและดี บำรุงธาตุ แก้มุตกิด แก้ไอ แก้ไข้ผอมเหลืองบำรุงกำลัง
สรรพคุณโดยรวมก็คือ ขับปัสสาวะ สมานเยื่ออ่อนตามทางเดินของปัสสาวะไม่ให้อักเสบ แก้โรคเบาหวาน แก้ปัสสาวะพิการ ขับตะกอนและไข่ขาวในกระเพาะปัสสาวะ
ฟิลิปปินส์ ใช้ใบต้มเอาน้ำชะล้างบาดแผลและแผลเรื้อรังต่างๆ และใช้สวนล้างช่องคลอด หรือทาภายนอก
อินเดีย ใช้ยาชงจากราก แก้ขัดเบา เบาเป็นเลือด เปลือกและรากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ดี ดอกและใบ ใช้พอกฝีและแผลเรื้อรังต่างๆ
อินโดจีน ใช้ดอกอ่อนและเมล็ด ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและเป็นยาบำรุง
จากภูมิปัญญาเหล่านี้จะพบว่าครอบฟันสีมีสรรพคุณขับปัสสาวะเป็นหลัก พร้อมทั้งแก้ลมและดีด้วย ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานเมื่อกินครอบฟันสีแล้วจะขับปัสสาวะออกมา ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง พร้อมทั้งบำรุงน้ำดีให้บริบูรณ์ด้วย จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยขับพิษร้อนในร่างกายออกไป และทำให้ลมเดินเป็นปกติ ทำให้แก้เบาหวานได้ คนไข้หายจากพิษร้อนภายใน สำหรับคนไข้ที่ชักจากดีเป็นเหตุ เมื่อดีและลมเป็นปกติก็จะหายชักไปเอง เหล่านี้เป็นแนวคิดตามเภสัชแผนโบราณ
ส่วนเภสัชแผนปัจจุบันก็ได้มีการเก็บรวบรวมและวิจัยเกี่ยวกับครอบฟันสีไว้พอสมควรดังนี้
ครอบฟันสีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abutilon indicum(L.) Sweet วงศ์ Malvaceae มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Country Mallow, Moon Flower เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งสาขามาก มีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุมทั่วไปทั้งต้น ก้านใบยาว รูปใบคล้ายหัวใจ ขอบใบมีรอยหยักรูปฟัน มีดอกสีเหลือง ผลเป็นกลีบๆเรียงติดกันคล้ายฟันเฟืองสีข้าวมีขนสั้นๆปกคลุม เมล็ดคล้ายรูปไต มักขึ้นตามที่รกร้าง ริมถนนหนทาง
สารเคมีที่พบ ทั้งต้นมี Flavonoides(เช่น Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside) ใบ มี Mucilage, Tannins, Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline sulphates, Chlorides, Magnesium phosphate และCalcium carbonate ราก มี Asparagin เมล็ด มีไขมันประมาณ 5%, Fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3%, Linoleic acid 26.67%, Linolenic acid 6.8%, Stearic acid 11.17%, Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sterol)
ยังไม่พบรายงานที่นำไปใช้ในการแพทย์แผนปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น