บล็อกนี้จัดทำขึ้นในการเรียนการสอนรายวิชาอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



งานราตรีชมพูอมส้ม54 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

 

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากไม่ได้เสียชีวิตจากการลุกลามของโรค
ความสำคัญของอาหารต่อผู้ป่วยท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากไม่ได้เสียชีวิตจากการลุกลามของโรค แต่กลับเป็นเพราะการขาดอาหาร การศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าในระยะที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆรวมทั้งมะเร็ง ถ้าร่างกายได้อาหารที่เหมาะสม เพียงพอที่จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การผ่าตัด หรือการฉายรังสี ช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพได้เร็วและดียิ่งขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ช่วยให้คงสุขภาพนั้นไว้ ไม่ให้เสื่อมโทรมกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่า "อาหารที่ดีจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยมะเร็ง"

 ภาวะขาดอาหารกับผู้ป่วยมะเร็ง
ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มีภาวะขาดอาหาร ถ้าปล่อยให้ลุกลามไปเรื่อยๆ อาจผอมแห้งจนหนังหุ้มกระดูก อ่อนเพลียไม่มีแรง หมดความกระตือรือร้น อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จนมีผลเสียที่รุนแรงได้ การขาดอาหารพบได้ทั้งการขาดพลังงาน ขาดโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

 สาเหตุที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งขาดสารอาหาร
1. ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น เซลล์มะเร็งมีการสร้างสารเคมีบางอย่างทำให้มีการเผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปให้หมดโดยเร็วเพื่อใช้เป็นพลังงาน ถ้าได้อาหารไม่เพียงพอ จะมีการเผาผลาญอาหารจากอาหารส่วนที่สะสมไว้ในร่างกาย แล้วลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆได้
2. ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากรับประทานอาหารได้น้อย จึงยิ่งขาดอาหารง่ายขึ้น


อุปสรรคของการรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้อยลงจากปัญหาต่อไปนี้หรือไม่

1. เบื่ออาหาร มักจะรู้สึกชัดเจนในช่วงที่รักษาด้วยยาหรือการฉายรังสี เมื่อจบการรักษาอาการมักจะดีขึ้น ตำแหน่งของมะเร็งที่ต่างกัน และระยะต่างๆของโรคจะมีอาการมากน้อยต่างกัน
2. การรับรสผิดปกติทานอาจรู้สึกขมในปาก รับประทานอาหารหวานแล้วไม่ค่อยรู้สึกรสหวาน บางครั้งรสเปรี้ยวและเค็มก็รับรสได้ผิดไป เกิดจากความผิดปกติของเยื่อบุในปากและต่อมรับรสที่ลิ้นมักเกิดมากเพียงบางระยะของโรคหรือการรักษา
3. คลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย เกิดอาการในช่วงของการรักษาด้วยยาหรือแสง
4. อาการไม่สุขสบายอื่นๆ เช่นมีความเจ็บปวด แน่นท้องปวดท้อง ท้องผูก มักเป็นอาการที่เกิดเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจากมะเร็ง หรือเป็นผลข้างเคียงของการรักษา                                                                                   
5. การงดอาหารแสลง ถ้าท่านงดสิ่งที่มีโทษก็จะเป็นผลดี แต่ถ้างดอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็จะเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะจะยิ่งขาดอาหารมากยิ่งขึ้น
6. ขาดกำลังใจ ถ้าท่านรู้สึกเศร้า ท้อแท้ใจ หมดหวังจะยิ่งทำให้เบื่ออาหารและมีอาการไม่สุขสบายต่างๆมากขึ้น
ดังนั้นท่านจึงควรพยายามทำจิตใจให้เข้มแข็ง สงบและสดชื่นตามสมควร ทำความเข้าใจถึงความไม่สุขสบายต่างๆ ว่ามีโอกาสที่จะทุเลาลง ปรึกษาแพทย์และพยาบาลเพื่อหาทางบรรเทาอาการเหล่านั้นเท่าที่จะทำได้ แล้วมารับประทานอาหารตามคำแนะนำ ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่ท่านสามารถช่วยสนับสนุนให้การรักษามะเร็งได้ผลดีขึ้นด้วยตัวของท่านเอง

 ทำอย่างไรผู้ป่วยจึงจะรับประทานอาหารได้มากขึ้น
ถ้าท่านผอมลงและน้ำหนักลด ลองหาทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

* หลังอาหารทุกมื้อ ตามด้วยเครื่องดื่ม ผลไม้ หรือขนมหวาน
* เพิ่มจำนวนมื้ออาหาร จากที่เคยรับประทาน 2 - 3 มื้อ ให้เป็น 4 - 6 มื้อ
* เพิ่มอาหารว่างระหว่างมื้อ เป็นผลไม้เครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
* เลือกชนิดของอาหารที่ท่านชอบมารับประทาน
* ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอาหารหลายๆชนิด เพื่อที่จะได้ไม่เบื่อ และได้สารอาหารที่มีประโยชน์ครบ
* อาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม อาจช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น เช่น ไอศกรีม เยลลี่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ มะกะโรนี ไข่ลวก
* รับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ หรือของร้อนควรรับประทานเมื่อร้อน ของเย็นรับประทานเมื่อเย็น
* จัดบรรยากาศในการรับประทานให้รื่นรมย์เท่าที่สามารถทำได้
* พยายามทำจิตใจให้สดชื่น

 อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
1. อาหารทีมีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน ในแต่ละวัน  ควรได้รับประทานอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่คือ
* แป้งและน้ำตาล ได้แก่ ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน มะกะโรนี เป็นต้น เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
* ไขมัน ได้แก่ น้ำมันจากสัตว์และพืชต่างๆ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูง ส่วนน้ำมันที่สกัดจากข้าวโพด ถั่วเหลือง รำข้าว จะให้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย
* เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นแหล่งของสารอาหารโปรตีนที่มีราคาถูกและมีคุณค่าสูงมาก
* ผักสดได้แก่ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ตำลึง คะน้า ผักกาด และผักอื่นๆ เช่นมะเขือเทศ ฟักทอง เป็นแหล่งของเกลือแร่
* ผลไม้ ทั้งผลไม้สด และน้ำผลไม้คั้น เช่น ส้ม มะละกอ กล้วย ฝรั่ง ให้วิตามินหลายชนิด
2. รับประทาน อาหารที่สะอาด ท่านมักจะมีความต้านทานต่อเชื้อโรคน้อยลง จึงควรเอาใจใส่เรื่องของความสะอาดให้ดีเช่น
* เนื้อสัตว์ ไข่ ต้องปรุงให้สุก
* ผักสดผลไม้ ล้างน้ำให้สะอาดหลายๆครั้ง
* การคั้นน้ำผลไม้ ควรล้างเปลือกผลไม้ก่อน อุปกรณ์ที่ใช้และมือผู้คั้นควรล้างให้สะอาด
* ถ้ามีความจำเป็นต้องเก็บอาหารไว้ ควรเก็บให้ถูกวิธี ป้องกันการบูดเน่าเสีย และอุ่นใหม่ก่อนรับประทาน ระวังแมลงวันและสัตว์อื่นๆไต่ตอมอาหาร
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์และอาจมีโทษ เช่น
* อาหารหมักดอง
* อาหารใส่สีฉูดฉาด
* อาหารเผ็ดจัด


4. อาหารเสริมที่ผลิตสำเร็จ หรืออาหารทางการแพทย์ ปัจจุบันมีการผลิตอาหารเป็นชนิดผงใช้ชงกับน้ำอุ่นดื่ม หรือเป็นชนิดน้ำดื่มได้เลยโดยมีการเติมสี กลิ่น เพื่อให้ดื่มง่ายขึ้น ควรเลือกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน และมีโปรตีนสูง ท่านสามารถ เลือกซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ตามกลิ่นรสที่ชอบและพิจารณาคุณค่าอาหารจากข้างกล่อง ร่วมกับขอคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือโภชนากร ตัวอย่างเช่น ไอโซคาล ซัสตาคาล ซัสตาเยน เอ็นชัวร์ เจน-ฟอร์มูล่า ส่วนใหญ่ราคาค่อนข้างแพงแต่ใช้ได้สะดวก และมีประโยชน์ดี
        ถ้าท่านไม่มีปัญหาเรื่องเบื่ออาหารน้ำหนักลด ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแต่ควรเลือกชนิดของอาหารที่มีคุณค่าสูง
http://www.gotoknow.org/blog/navee-019/233604

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น